การสะสมต้นทุนการผลิต
วัตถุประสงค์หลักของการบัญชีต้นทุน คือ
การคำนวณต้นทุนของสินค้าที่ผลิต
กิจการผลิตสินค้าจำเป็นต้องทราบต้นทุนการผลิตอย่างต่อเนื่องเพื่อใช้ข้อมูลต้นทุนในการบริหารหลายด้าน
การสะสมต้นทุนการผลิตมีวิธีการแตกต่างกัน
และแต่ละวิธีจะทำให้ต้นทุนการผลิตแตกต่างกันส่งผลต่อการบริการจัดการต้นทุน
การสะสมต้นทุนการผลิตทำได้ 3 วิธี คือ
1. วิธีต้นทุนจริง (Actual Cost)
2. วิธีต้นทุนปกติ (Normal Cost)
3. วิธีต้นทุนมาตรฐาน (Standard Cost)
1. วิธีต้นทุนจริง (Actual Cost) จะสะสมต้นทุนการผลิตตามส่วนประกอบของต้นทุนที่เป็นจริงทั้งปริมาณและราคา
ดังนี้
ส่วนประกอบต้นทุนการผลิต
|
ต้นทุนผลิตภัณฑ์
|
|
ปริมาณ
|
ราคา
|
|
วัตถุดิบทางตรง
|
จริง
|
จริง
|
แรงงานทางตรง
|
จริง
|
จริง
|
ค่าใช้จ่ายการผลิต
|
จริง
|
จริง
|
2. วิธีต้นทุนปกติ (Normal Cost) จะสะสมต้นทุนการผลิตเฉพาะวัตถุดิบทางตรงและแรงงานทางตรงด้วยปริมาณจริงและราคาจริง
เช่นเดียวกับวิธีต้นทุนจริง ส่วนค่าใช้จ่ายการผลิตจะถูกสะสมด้วยยอดคิดเข้างานเพื่อสะดวกในการสะสมต้นทุนและประโยชน์ในการควบคุมต้นทุนโดยคำนวณจากอัตราคิดเข้างานที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
(Predetermine Overhead Rate) คูณกับฐาน (Base) ที่เลือก (รายละเอียดเกี่ยวกับอัตราค่าใช้จ่ายการผลิตจะอธิบายในบทต่อไป)
ค่าใช้จ่ายการผลิตไม่อาจคิดเข้าเป็นต้นทุนของสินค้าได้ทันทีเมื่อผลิตเสร็จ
เพราะค่าใช้จ่ายการผลิตส่วนใหญ่เป็นต้นทุนทางอ้อมต้องอาศัยการปันส่วนต้นทุนให้กับสินค้าแต่ละหน่วย
จึงต้องรอจนสิ้นงวดหรือสิ้นเดือน
เมื่อทราบแน่ชัดว่ามีค่าใช้จ่ายการผลิตเกิดขึ้นทั้งหมดเท่าใดและผลิตสินค้าได้เท่าใดจึงจะปันส่วนให้กับสินค้าแต่ละหน่วยตามเกณฑ์ที่เหมาะสมได้
ส่วนค่าใช้จ่ายการผลิตจริงจะถูกบันทึกไว้ในบัญชีค่าใช้จ่ายการผลิตจ่ายจริง
(ActualOverhead)
เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน (Applied
Overhead) วิธีนี้จะเกิดผลต่าง (Variance) ระหว่างค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานกับค่าใช้จ่ายการผลิตจ่ายจริง2
กรณี ดังนี้
กรณีที่ 1
ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานตํ่าไป (Under Applied Overhead) เกิดจากค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานตํ่ากว่าค่าใช้จ่ายการผลิตจ่ายจริง
แสดงให้เห็นถึงการขาดประสิทธิภาพในการควบคุมค่าใช้จ่ายการผลิตมีผลให้กำไรตํ่า
กรณีที่ 2
ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูงไป (Over Applied Overhead) เกิดจากค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูงกว่าค่าใช้จ่ายการผลิตจ่ายจริง
แสดงให้เห็นถึงการมีประสิทธิภาพในการควบคุมค่าใช้จ่ายการผลิตมีผลให้กำไรสูง
ส่วนประกอบต้นทุนการผลิต
|
ต้นทุนผลิตภัณฑ์
|
|
ปริมาณ
|
ราคา
|
|
วัตถุดิบทางตรง
|
จริง
|
จริง
|
แรงงานทางตรง
|
จริง
|
จริง
|
ค่าใช้จ่ายการผลิต
|
ฐานจริง
|
อัตราคิดเข้างาน
|
3. วิธีต้นทุนมาตรฐาน (Standard Cost) จะสะสมต้นทุนการผลิตทุกส่วนประกอบด้วยปริมาณมาตรฐาน (Standard
Quantity) และราคามาตรฐาน (Standard Price) เพื่อสะดวกในการสะสมต้นทุนและประโยชน์ในการควบคุมต้นทุน
โดยคำนวณจากอัตรามาตรฐานที่กำหนดไว้ล่วงหน้า(Setting Standard) อย่างมีหลักเกณฑ์ ณ ระดับการผลิตหนึ่งที่กำหนด
ต้นทุนมาตรฐานได้จากการวิเคราะห์การปฏิบัติงานในอดีต โดยนำตัวเลขมาพิจารณากับเหตุการณ์ที่คาดว่าจะเปลี่ยนแปลงในอนาคตหรือได้จากการทดลองผลิตอย่างมีประสิทธิภาพแล้วกำหนดเป็นมาตรฐานการผลิต
ในขณะที่ส่วนประกอบของต้นทุนการผลิตจริงจะถูกบันทึกและนำมาเปรียบเทียบเมื่อเกิดผลต่างก็จะนำผลต่างมาวิเคราะห์เพื่อบริหารจัดการต้นทุนต่อไป
(รายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อหาของการบัญชีต้นทุนมาตรฐาน จะเรียนในวิชา 3201-2004
การบัญชีต้นทุน 2)
ส่วนประกอบต้นทุนการผลิต
|
ต้นทุนผลิตภัณฑ์
|
|
ปริมาณ
|
ราคา
|
|
วัตถุดิบทางตรง
|
มาตรฐาน
|
มาตรฐาน
|
แรงงานทางตรง
|
มาตรฐาน
|
มาตรฐาน
|
ค่าใช้จ่ายการผลิต
|
ฐานมาตรฐาน
|
อัตราคิดเข้างาน
|
ต้นทุนเต็มและต้นทุนผันแปร
ส่วนประกอบต้นทุนของผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย
วัตถุทางตรง แรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต ซึ่งมีพฤติกรรมต้นทุนแตกต่างกัน
ผู้บริหารต้นทุนต้องเข้าใจพฤติกรรมของต้นทุนแต่ละประเภทว่ามีผลต่อการดำเนินงานอย่างไร
ดังได้กล่าวในบทก่อนว่าพฤติกรรมต้นทุนแบ่งเป็น 4 ประเภทคือ ต้นทุนผันแปร
ต้นทุนคงที่ ต้นทุนกึ่งผันแปร และต้นทุนกึ่งคงที่
การคำนวณต้นทุนการผลิตจำเป็นต้องจำแนกต้นทุนการผลิตออกเป็น
2 กลุ่ม คือ ต้นทุนการผลิตผันแปร และต้นทุนการผลิตคงที่
ดังนั้นต้นทุนการผลิตกึ่งผันแปร และต้นทุนการผลิตกึ่งคงที่ซึ่งเป็นต้นทุนที่มีทั้งส่วนที่เป็นต้นทุนการผลิตผันแปร
และส่วนที่เป็นต้นทุนการผลิตคงที่รวมกันอยู่จำเป็นต้องแยกต้นทุน 2
ประเภทนี้ออกจากกัน และจัดกลุ่มให้เป็นต้นทุนการผลิตผันแปร
และต้นทุนการผลิตคงที่เพื่อประโยชน์ในการจัดการต้นทุนการผลิตดังนี้
1. ต้นทุนการผลิตผันแปร ประกอบด้วย วัตถุดิบทางตรง
แรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายจะผันแปรไปตามปริมาณการผลิต
โดยมีต้นทุนต่อหน่วยเท่ากันไม่ว่าจะทำการผลิตมากหรือน้อยส่วนต้นทุนรวมจะเกิดขึ้นมากหรือน้อยผันแปรไปตามจำนวนหน่วยที่ผลิต
สรุป
ต้นทุนผันแปรรวมจะเกิดขึ้นมากหรือน้อยในงวดบัญชีใดขึ้นอยู่กับจำนวนที่ผลิตถือว่าเป็นต้นทุนที่ควบคุมได้
2. ต้นทุนการผลิตคงที่
ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่
จะมีจำนวนรวมเท่าเดิมไม่ว่าจะทำการผลิตมากหรือน้อย
ส่วนต้นทุนต่อหน่วยจะถูกเฉลี่ยมากหรือน้อยตามจำนวนหน่วยที่ผลิต
สรุป
ต้นทุนคงที่รวมจะเกิดเท่ากันในงวดเวลานั้นไม่ว่าจะผลิตในจำนวนมากหรือน้อยถือว่าเป็นต้นทุนที่ควบคุมไม่ได้
1. วิธีต้นทุนคิดเข้างาน (Full Absorption
Costing)
การคำนวณต้นทุนการผลิตตามวิธีต้นทุนคิดเข้างาน
(Full
Absorption Costing) หรืออาจเรียกว่า “ต้นทุนรวม”
หรือ “ต้นทุนเต็ม” จะนำต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตได้แก่
วัตถุดิบทางตรง แรงงานทางตรง
และค่าใช้จ่ายการผลิตทั้งส่วนที่เป็นผันแปรและส่วนที่เป็นคงที่มารวมกันและถือเป็นต้นทุนของสินค้า
การคำนวณต้นทุนวิธีนี้ต้นทุนส่วนที่เป็นต้นทุนคงที่จะถูกนำมาคิดเป็นต้นทุนสินค้าด้วยโดยเฉลี่ยให้กับสินค้าทุกหน่วยที่ผลิตในจำนวนที่เท่ากันตามวิธีการสะสมต้นทุน
ดังนี้
1.1 วิธีต้นทุนจริง
ใช้ยอดค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่รวมหารด้วยจำนวนหน่วยที่ผลิตได้
1.2 วิธีต้นทุนปกติ
คิดค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่เข้างานตามอัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานที่กำหนดไว้ล่วงหน้าคูณด้วยจำนวนที่ใช้จริงของฐานที่เลือกใช้
1.3 วิธีต้นทุนมาตรฐาน
คิดค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่เข้างานตามอัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานที่กำหนดไว้ล่วงหน้าคูณด้วยจำนวนมาตรฐานที่ควรใช้ของฐานที่เลือกใช้
หมายเหตุ 1. ข้อ 2
การคำนวณค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน จะอธิบายในบทต่อไป
2. ข้อ 3 จะได้เรียนใน วิชา 3201-20004
การบัญชีต้นทุน 2)
ส่วนค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการผลิต
(Non-manufacturing
Cost) ใช้หลักการบันทึกและคำนวณเหมือนกิจการทั่วไปและจำแนกเป็นค่าใช้จ่ายส่วนที่เป็นผันแปรและส่วนที่เป็นคงที่โดยคิดเฉลี่ยเฉพาะต่อหน่วยสินค้าที่ขายได้
การคำนวณต้นทุนการผลิตตามวิธีนี้ค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่เกิดขึ้นทุกงวดบัญชีถูกตัดเป็นค่าใช้จ่ายตามงวดเวลา
(Period
Cost) เฉพาะส่วนที่คิดเข้างานให้กับสินค้าที่ขายได้
(ต้นทุนขาย)ส่วนที่คิดเข้างานให้กับสินค้าคงเหลือปลายงวดจะถือเป็นสินทรัพย์ยกไปในงวดถัดไป
(Product Cost)ทำให้การคำนวณต้นทุนตามวิธีต้นทุนคิดเข้างานไม่สะท้อนผลการดำเนินงานที่แท้จริง
งบกำไรขาดทุนตามวิธีนี้จะแสดงกำไรขั้นต้น
(Gross
margin) ซึ่งได้จากราคาขายหักด้วยต้นทุนการผลิตที่คำนวณได้
กำไรขั้นต้นคำนวณจากราคาขายหักด้วยต้นทุนขาย
2. วิธีต้นทุนผันแปร (Variable Costing) หรืออาจเรียกว่าวิธีต้นทุนทางตรง (Direct Costing) เป็นวิธีการคิดต้นทุนโดยให้ความสำคัญเฉพาะส่วนที่เป็นต้นทุนผันแปร
เพราะถือว่า ต้นทุนผันแปรเป็นต้นทุนที่ควบคุมได้ (Controllable Cost) จะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับจำนวนผลิตและจำนวนขาย
ต้นทุนผันแปรดังกล่าวแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
2.1 ต้นทุนการผลิตผันแปร (Variable
Manufacturing Cost) คือ วัตถุดิบทางตรงแรงงานทางตรง
และค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปร ผันแปรไปตามหน่วยผลิต
2.2 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารผันแปร
(Variable
marketing andAdministrative Cost) ผันแปรไปตามหน่วยขาย
ต้นทุนการผลิตคงที่ตามวิธีต้นทุนผันแปรนั้นถือเป็นต้นทุนที่ถูกกำหนดเป็นงบประมาณตามงวดบัญชีเป็นต้นทุนที่ไม่สามารถควบคุมได้
(Uncontrollable
Cost) การคำนวณต้นทุนตามวิธีต้นทุนผันแปร
จะไม่นำต้นทุนการผลิตคงที่คิดเข้างานให้กับสินค้าที่ผลิตเหมือนกับวิธีต้นทุนคิดเข้างาน
แต่ให้ถือว่าต้นทุนการผลิตคงที่ที่เกิดขึ้นจริงเป็นต้นทุนงวดเวลาทั้งหมด
ฝ่ายบริหารใช้ประโยชน์จากการคำนวณต้นทุนตามวิธีต้นทุนผันแปร
เพื่อวางแผนการผลิตวางแผนการขายและกำหนดกำไรที่ต้องการได้
โดยประมาณต้นทุนการผลิตผันแปรและค่าใช้จ่ายขายและบริหารผันแปรต่อหน่วยให้ใกล้เคียงกับที่คาดว่าจะเกิดให้มากที่สุด
การกำหนดราคาขายตามวิธีต้นทุนผันแปรนั้นต้องกำหนดให้ครอบคลุมต้นทุนผันแปรทั้งหมด
(Variable
Costs) และให้เหลือเป็นกำไรส่วนเกิน (Contribution Margin) เผื่อไว้สำหรับชดเชยต้นทุนคงที่ทั้งหมด (Total Fixed Costs) เมื่อชดเชยต้นทุนคงที่ครบถ้วนแล้วส่วนที่เหลือคือกำไรจากการดำเนินงาน (Operating
Profit)
งบกำไรขาดทุนตามวิธีต้นทุนผันแปรจะแสดงกำไรส่วนเกิน
(Contribution
Margin)ได้จากราคาขายหักด้วยต้นทุนการผลิตผันแปรและค่าใช้จ่ายขายและบริหารผันแปร
กำไรจากการดำเนินงาน (Operating Profit) ได้จากกำไรส่วนเกินหักด้วยค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่
และค่าใช้จ่ายขายคงที่ทั้งหมด
กำไรส่วนเกินคำนวณจากราคาขายหักด้วยต้นทุนผันแปรทั้งหมด
กำไรจากการดำเนินงานคำนวณจากกำไรส่วนเกินหักด้วยต้นทุนคงที่จริงทั้งหมด
บทสรุป
ต้นทุนการผลิตสะสมได้ 3 วิธี
คือวิธีต้นทุนจริง ต้นทุนปกติ และต้นทุนมาตรฐาน
กิจการเลือกใช้ตามความเหมาะสมกับลักษณะและขนาดของกิจการ เช่น
กิจการขนาดเล็กสามารถรวบรวมต้นทุนทุกรายการได้ก่อนทำงบก็เลือกใช้วิธีต้นทุนจริง
กิจการที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีรายการค่าใช้จ่ายการผลิตซับซ้อนและมากขึ้นควรเลือกใช้วิธีต้นทุนปกติ
หรือต้นทุนมาตรฐานตามความเหมาะสม
การคำนวณต้นทุนการผลิตคำนวณได้ทั้งวิธีต้นทุนแบบคิดเข้างานและวิธีต้นทุนผันแปรวิธีต้นทุนคิดเข้างานต้นทุนการผลิต
ประกอบด้วยต้นทุนวัตถุดิบทางตรง แรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิตทั้งส่วนที่เป็น
ผันแปรและส่วนที่เป็นคงที่ที่คิดเข้างาน ราคาขายหักด้วยต้นทุน
ทุนขายแบบวิธีคิดเข้างานถือเป็นกำไรขั้นต้น
ส่วนการคำนวณต้นทุนการผลิตตามวิธีต้นทุนผันแปร
ต้นทุนการผลิตผันแปรประกอบด้วยต้นทุนวัตถุดิบทางตรง แรงงานทางตรง
และค่าใช้จ่ายการผลิตเฉพาะส่วนที่เป็นผันแปรเท่านั้น
ค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายประจำงวดทั้งหมดค่าใช้จ่ายขายและบริหารผันแปรถือเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนผันแปร
ราคาขายสินค้าหักด้วยต้นทุนผันแปรทั้งหมดถือเป็นกำไรส่วนเกิน
ทำหน้าที่ชดเชยทั้งต้นทุนการผลิตคงที่และค่าใช้จ่ายขายและบริหารคงที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น