บทที่๖ การปันส่วนต้นทุน

การปันส่วนต้นทุน (Cost Allocation)
การผลิตสินค้าจะมีแผนกผลิต (Production Department) ทำหน้าที่ในการผลิตสินค้าโดยตรงอาจแบ่งแผนกผลิตออกเป็นหลายแผนกตามลักษณะการผลิต เช่น แผนกชิ้นส่วน แผนกประกอบ เป็นต้น และมีแผนกบริการ (Service Department) ทำหน้าที่โดยอ้อมเพื่อส่งเสริมการผลิตให้แผนกอื่นเป็นแผนกที่ช่วยให้แผนกอื่นปฏิบัติงานด้วยความสะดวก เช่น
·       แผนกไฟฟ้า ทำหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้าและจ่ายกระแสไฟฟ้าใช้ทั้งโรงงาน
·       แผนกโรงอาหาร ทำหน้าที่ให้บริการอาหารให้กับบุคลากรทุกคนในโรงงาน
·        แผนกแพทย์ ทำหน้าที่ดูแลและรักษาสุขภาพให้กันบุคลากรทุกคนในโรงงาน
·        แผนกซ่อมแซม ทำหน้าที่ให้บริการซ่อมแซม บำรุงรักษา ครุภัณฑ์ทุกแผนก
·        แผนกอาคารสถานที่ ทำหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับอาคารทั้งโรงงานและสำนักงาน
·       บริหารงานโรงงานทั่วไป ทำหน้าที่บริหารทั่วไปสนับสนุนงานทุกแผนก
แผนกบริการเป็นแผนกที่ปฏิบัติงานแล้วมีต้นทุนแต่ไม่มีรายได้แต่เกิดขึ้น ถือว่าแผนกบริการเป็นศูนย์ต้นทุน (Cost Center) ต้นทุนที่เกิดขึ้นในแผนกบริการ คือ ค่าใช้จ่ายในการผลิต หรือค่าใช้จ่ายขายและบริหารของกิจการ จึงต้องปันส่วนให้กับทุกแผนกที่ได้รับบริการ
แผนกผลิตต้องนำต้นทุนที่ได้รับจากการปันส่วนรวมเป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายการผลิตประจำแผนกเพื่อคำนวณอัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน (Predetermine Overhead Rate)
ฐานที่ใช้ในการปันส่วน (Cost Allocation Bases)
ฐานที่ใช้ในการปันส่วนต้นทุน หมายถึง หน่วยวัดที่สอดคล้องกับการเกิดต้นทุนของแผนกบริการเพื่อใช้แบ่งต้นทุนแผนกบริการ เช่น
วิธีการปันส่วนต้นทุน (Cost Allocation Method)
วิธีการปันส่วนต้นทุนทำได้หลายวิธี แต่ละวิธีจะแบ่งต้นทุนให้กับแผนกผลิตที่ใช้บริการในจำนวนที่แตกต่างกัน ต้นทุนของแผนกบริการที่นำมาปันส่วนให้กับแผนกผลิตควรเป็นจำนวนหลังจากแบ่งให้แผนกขายและบริหารแล้ว
ในบทนี้จะแสดงการปันส่วนต้นทุน 2 วิธีที่ใช้ง่ายและสะดวก ดังนี้
1. วิธีการปันส่วนโดยตรง (Direct Method) วิธีการปันส่วนโดยตรงจะปันส่วนต้นทุนแผนกบริการแผนกใดก่อนก็ได้ ต้นทุนของแผนกบริการทุกแผนกถูกปันส่วนให้แผนกผลิตโดยตรงไม่ปันส่วนให้กับแผนกบริการด้วยกันถึงแม้จะใช้บริการระหว่างกันก็ตาม
2. วิธีการปันส่วนเป็นขั้น (Step-down Method) วิธีการปันส่วนเป็นขั้นจะปันส่วน
ต้นทุนของแผนกบริการให้แผนกบริการอื่นในโรงงานที่ทำหน้าที่สนับสนุนการผลิต แต่ไม่ได้ทำการผลิตเช่น แผนกบุคคล แผนกซ่อมแซม แผนกพัสดุ เป็นต้น โดยจัดลำดับแผนกบริการที่ให้บริการแผนก
บริการอื่นมากที่สุดแบง่ เปน็ ลำดับแรก และแผนกที่ใหบ้ ริการแผนกบริการอื่นรองลงมาเปน็ ลำดับถัดมา
แผนกบริการที่ถูกแบ่งแล้วไม่ต้องรับต้นทุนของแผนกบริการที่แบ่งถัดมา ถึงแม้จะได้ให้บริการระหว่างกัน และแผนกบริการที่แบ่งถัดมานำต้นทุนที่ได้รับการปันส่วนมารวมเพื่อปันส่วน

ตัวอย่างที่ 1 โรงงานอุดมพร มีแผนกบริการ 3 แผนก คือ แผนกอาคาร แผนกบุคคล และ
แผนกซ่อมแซม มีแผนกผลิต 2 แผนก คือ แผนกผลิตชิ้นส่วนและแผนกประกอบ มีรายละเอียดดังนี้
คำนวณการปันส่วนและอัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานได้ดังนี้
วิธีการปันส่วนโดยตรง
ต้นทุนแผนกบริการจะถูกปันส่วนไปยังแผนกผลิตโดยตรง ตามปริมาณการให้บริการเฉพาะของแผนกผลิตโดยจะแบ่งแผนกบริการใดก่นก็ได้
วิธีปันส่วนเป็นขั้น
วิธีการปันส่วนเป็นขั้นจะจัดลำดับแผนกบริการเพื่อปันส่วน ตามจำนวนต้นทุนที่ให้บริการระหว่างแผนกบริการด้วยกัน จากตัวอย่างแผนกซ่อมแซมถูกแบ่งเป็นลำดับที่ 1 แผนกอาคารเป็นลำดับที่ 2 และแผนกบุคคลถูกแบ่งเป็นลำดับสุดท้าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จุดประสงค์รายวิชา

จุดประสงค์รายวิชา               1. เพื่อให้ มีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ  และกระบวนการปฏิบัติงานบัญชีของกิจการบริษัทจำกัด แล...