การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับต้นทุนการผลิต
การบันทึกต้นทุนการผลิตจะบันทึกตามการเกิดของส่วนประกอบของต้นทุนการผลิต
ได้แก่วัตถุดิบทางตรง แรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต โดยบันทึกบัญชีเพื่อคุมยอดบัญชีสินค้าคงเหลือของกิจการอุตสาหกรรมซึ่งมี
3 ประเภท คือ
1.
วัตถุดิบ (Material
Inventory)
2.
งานระหว่างทำ (Work
in process Inventory)
3.
สินค้าสำเร็จรูป (Finished
goods Inventory)
การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตทำได้
2 วิธี คือ
1.
การบันทึกสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวด (Periodic Inventory Method)
2.
การบันทึกสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory Method)
การบันทึกสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวด
(Periodic
Inventory Method)
การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวดจะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับบัญชีสินค้าคงเหลือทุกบัญชีด้วยยอดคงเหลือยกมาตอนต้นงวดและยอดคงเหลือยกไปตอนสิ้นงวดเท่านั้น
จะไม่แสดง
รายการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสินค้าระหว่างงวดบัญชี
กิจการจะคำนวณต้นทุนสินค้าที่ใช้ไป/ขายไป
ในวันสิ้นงวดบัญชีโดยการตรวจนับและตีราคาสินค้าคงเหลือในวันสิ้นงวด
สินค้าคงเหลือ (Inventory) ของกิจการอุตสาหกรรม จะแสดงรายละเอียดดังนี้
วัตถุดิบ แสดงยอดคงเหลือยกมาต้นงวดบัญชี
เมื่อซื้อวัตถุดิบบันทึกบัญชี “บัญชีซื้อวัตถุดิบ”เมื่อเบิกวัตถุดิบใช้ในกระบวนการผลิตไม่บันทึก
ตรวจนับตีราคาและบันทึกวัตถุดิบคงเหลือในวันสิ้นงวดบัญชี ต้นทุนวัตถุดิบใช้ไปจะคำนวณและบันทึกในวันสิ้นงวด
งานระหว่างทำ แสดงยอดคงเหลือยกมาต้นงวดบัญชี
เมื่อเบิกวัตถุดิบทางตรง เกิดแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายในการผลิตไม่บันทึก
ตรวจนับตีราคาและบันทึกงานระหว่างทำคงเหลือในวันสิ้นงวดบัญชี
ต้นทุนสินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตเสร็จจะคำนวณและบันทึกในวันสิ้นงวด
สินค้าสำเร็จรูป
แสดงยอดคงเหลือยกมาต้นงวดบัญชี เมื่อผลิตสินค้าเสร็จหรือขายสินค้า
ไม่บันทึก
ตรวจนับตีราคาและบันทึกสินค้าสำเร็จรูปคงเหลือในวันสิ้นงวดบัญชี
ต้นทุนสินค้าที่ขายจะคำนวณและบันทึกในวันสิ้นงวด
การบันทึกบัญชีวิธีนี้ไม่สามารถควบคุมสินค้าคงเหลืออย่างต่อเนื่อง
เหมาะสำหรับกิจการผลิตขนาดเล็กที่ผู้ปฏิบัติงานหรือเจ้าของกิจการควบคุมการผลิตทุกขั้นตอนด้วยตนเอง
ตัวอย่างที่ 1
บริษัท ไพลิน จำกัด มีข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตระหว่างปี ดังนี้
1.
ยอดคงเหลือของสินค้าคงเหลือ มีดังนี้
2.
ซื้อวัตถุดิบเป็นเงินเชื่อ 10,200 บาท
3.
จ่ายค่าขนส่งเข้าวัตถุดิบ 1,000 บาท
4.
ส่งคืนวัตถุดิบให้เจ้าหนี้จำนวน 500 บาท
5.
จ่ายชำระหนี้ค่าวัตถุดิบ มีส่วนลดรับ 200 บาท
6.
เบิกวัตถุดิบเข้างาน ทางตรง 8,000 บาท ทางอ้อม
2,000 บาท
7.
จ่ายค่าแรง 20,000 บาท ทางตรง 15,000 บาท ทางอ้อม 5,000 บาท ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 500 บาท
8.
ค่าใช้จ่ายการผลิตอื่น
·
จ่ายค่านํ้าค่าไฟ ด้วยเงินสด
2,500 บาท
·
ค่าเสื่อมราคาสะสม-เครื่องจักร 6,000
บาท
·
ตัดบัญชีค่าเบี้ยประกันโรงงานจ่ายล่วงหน้า 3,000 บาท
·
ค่าเช่าโรงงานค้างจ่าย 7,000 บาท
9.
ขายสินค้า 90,000 บาท
10.
ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร 10,000 บาท
บัญชีแยกประเภทเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือแสดงดังนี้
บัญชีต้นทุนการผลิตแสดงยอดในวันสิ้นงวด
ต้นทุนการผลิต
การบันทึกบัญชีตามวิธี Periodic จะรับรู้เกี่ยวกับต้นทุนการผลิตและต้นทุนขายในวันสิ้นงวดบัญชี
ไม่เหมาะกับกิจการที่ต้องการข้อมูลต้นทุนการผลิตอย่างต่อเนื่องตลอดปี
มักใช้กับกิจการผลิตขนาดย่อมที่มีข้อมูลต้นทุนการผลิตไม่มากและไม่ซับซ้อน
เจ้าของกิจการสามารถเก็บและคำนวณต้นทุนได้ง่าย วงจรบัญชี (Accounting
Cycle) แสดงได้ดังนี้
การบันทึกสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory
Method)
การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่องจะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับบัญชีสินค้าคงเหลือทุกบัญชีอย่างต่อเนื่อง
เมื่อมีรายการเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือต้องบันทึกการเปลี่ยนแปลงทุกรายการตลอดงวดบัญชี
สินค้าคงเหลือ (Inventory) ของกิจการอุตสาหกรรม จะแสดงรายละเอียดดังนี้
วัตถุดิบ
แสดงยอดคงเหลือยกมาต้นงวดบัญชีและทุกรายการที่เกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับต้นทุนวัตถุดิบ
เช่น ซื้อวัตถุดิบ เบิกวัตถุดิบใช้ ส่งคืน ส่วนลดรับ ฯลฯ
และยอดคงเหลือยกไปคำนวณจากบัญชีได้ทันที
งานระหว่างทำ
แสดงยอดคงเหลือยกมาต้นงวดบัญชีและทุกรายการที่เกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการผลิต
เช่น เบิกวัตถุดิบทางตรง เกิดแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายในการผลิต
เมื่อผลิตเสร็จก็โอนต้นทุนสินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตเสร็จไปบัญชีสินค้าสำเร็จรูป
แสดงยอดคงเหลือยกไปคำนวณจากบัญชีได้ทันที
สินค้าสำเร็จรูป
แสดงยอดคงเหลือยกมาต้นงวดบัญชี
บันทึกการรับโอนสินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตเสร็จจากบัญชีงานระหว่างทำ
บันทึกต้นทุนสินค้าที่ขายเมื่อขายสินค้า
สินค้าสำเร็จรูปคงเหลือในวันสิ้นงวดบัญชีคำนวณจากบัญชีได้ทันที
การบันทึกบัญชีวิธีนี้เมื่อเกิดบัญชีเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายการผลิต
ทุกบัญชีจะบันทึกบัญชีคุมยอดค่าใช้จ่ายการผลิตเพียงบัญชีเดียว
วิธีนี้ทำให้ควบคุมสินค้าคงเหลือทุกรายการได้อย่างต่อเนื่องเหมาะสำหรับกิจการผลิตขนาดกลางและขนาดใหญ่
ขั้นตอนการบันทึกบัญชีตามวิธีนี้บันทึกการตามลำดับดังนี้
1.
วัตถุดิบ เมื่อซื้อวัตถุดิบทั้งทางตรงและทางอ้อมบันทึกรวมใน “บัญชีวัตถุดิบ” เมื่อเบิกใช้ต้องแยกวัตถุดิบทางตรงและวัตถุดิบทางอ้อม
เพื่อวัตถุดิบทางตรงจะบันทึกเข้า “บัญชีงานระหว่างทำ”ส่วนวัตถุดิบทางอ้อมจะบันทึกเข้า “บัญชีคุมค่าใช้จ่ายการผลิต”
2.
แรงงาน เมื่อเกิดแรงงานทั้งทางตรงและทางอ้อมให้จำแนกเป็น “แรงงานทางตรง”บันทึกเข้า “บัญชีงานระหว่างทำ”
ส่วน “แรงงานทางอ้อม” บันทึกเข้า
“บัญชีคุมค่าใช้จ่ายการผลิต”
3.
ค่าใช้จ่ายการผลิต เมื่อเกิดค่าใช้จ่ายการผลิตทุกรายการนอกเหนือจาก “วัตถุดิบทางอ้อมและ “แรงงานทางอ้อม” แล้วให้บันทึก “บัญชีคุมยอดค่าใช้จ่ายการผลิต”
4.
ค่าใช้จ่ายการผลิตที่รวบรวมใน “บัญชีคุมยอดค่าใช้จ่ายการผลิต”
คือ ค่าใช้จ่ายการผลิตจ่ายจริง โอนเป็นต้นทุนสินค้า ดังนี้
4.1 วิธีต้นทุนจริง (Actual Cost) โอนทั้งจำนวนเข้า “บัญชีงานระหว่างทำ”
4.2 วิธีต้นทุนปกติ (Normal Cost) คำนวณค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานตามอัตราที่กำหนดเข้า
“บัญชีงานระหว่างทำ” ส่วนค่าใช้จ่ายการผลิตจ่ายจริงให้ปิดเข้าบัญชีต้นทุนขายหรือบัญชีงานระหว่างทำและสินค้าสำเร็จรูปตามส่วน
5.
สินค้าที่ผลิตเสร็จ
เมื่อผลิตสินค้าเสร็จคำนวณต้นทุนและโอนบัญชีสินค้าที่ผลิตเสร็จออกจาก “บัญชีงานระหว่างทำ” เข้า “บัญชีสินค้าสำเร็จรูป”
6.
ต้นทุนขาย เมื่อขายสินค้าคำนวณต้นทุนสินค้าที่ขายและโอนออกจาก “บัญชีสินค้าสำเร็จรูป” เข้า “บัญชีต้นทุนขาย”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น