ระบบต้นทุนงานสั่งทำ
(Job-order
Costing System)
การรับคำสั่งผลิตสินค้าที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างกันในแต่ละงานหรือแต่ละรุ่นอย่างเห็นได้ชัดหรือเป็นการผลิตสินค้าตามลักษณะเฉพาะอย่างที่ลูกค้าต้องการ
เป็นสินค้าที่ใช้เฉพาะกลุ่มลูกค้าอย่างเจาะจงต้องรวบรวมหรือสะสมต้นทุนสินค้า แต่ละงานแต่ละกลุ่มหรือแต่ละรุ่นแยกออกจากกันอย่างชัดเจน
ถึงแม้สินค้าแต่ละรุ่นแต่ละงานจะใช้วัตถุดิบทางตรง แรงงานทางตรง
และค่าใช้จ่ายการผลิตเหมือนกัน การบันทึกต้นทุนจึงต้องแสดงให้เห็นว่าสินค้าหน่วยใด
รุ่นใดมีต้นทุนตามส่วนประกอบของต้นทุนในจำนวนเท่าใด
โดยสะสมต้นทุนของแต่ละงานไว้ในบัตรต้นทุนงาน(Job Cost Sheet) ตามรุ่นของสินค้าเมื่อสินค้ารุ่นใด
หรืองานใดผลิตเสร็จก็โอนสินค้าที่ผลิตเสร็จทั้งรุ่นออกจากบัญชีงานระหว่างทำได้ทันทีไม่ต้องรอโอนออกในวันสิ้นงวด
เพราะต้นทุนการผลิตทั้งหมดของแต่ละงานถูกสะสมไว้ในบัตรต้นทุนงานโดยแยกเป็นงาน
บัตรต้นทุนงานจะบอกรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่ผลิตเสร็จและสินค้าที่อยู่ระหว่างการผลิต
ตัวอย่างกิจการที่ใช้ระบบการสะสมต้นทุนแบบต้นทุนงานสั่งทำ
เช่น กิจการโรงพิมพ์รับพิมพ์การ์ดแต่งงาน การ์ดงานบวช หรือการ์ดขึ้นบ้านใหม่
เป็นลูกค้าสั่งทำเฉพาะเจาะจง จะผลิตในจำนวนที่ลูกค้าสั่งทำ
ไม่ได้ทำเผื่อให้ลูกค้าอื่นหรือกิจการรับทำชุดพลศึกษาของนักเรียนแต่ละโรงเรียนซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปทั้งแบบ
สี และเนื้อผ้า กิจการจะทำการผลิตตามจำนวนที่สั่งทำของแต่ละโรงเรียนเท่านั้น
หรือกิจการรับเหมาก่อสร้าง
กิจการเฟอร์นิเจอร์ที่ลูกค้าสั่งทำสินค้าที่มีลักษณะพิเศษ
สินค้าที่มีการสั่งทำในจำนวนที่จำกัดตามแบบเฉพาะเจาะจง เป็นต้น
บัตรต้นทุนงาน
(Job
cost sheet)
การผลิตสินค้าตามระบบงานสั่งทำเป็นการผลิตสินค้าที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างกันเพื่อแยกต้นทุนการผลิตแต่ละงานออกจากกันจึงจัดทำ
“บัตรต้นทุนงาน” เพื่อสะสมต้นทุนการผลิตของแต่ละงานอย่างชัดเจน
“บัตรต้นทุนงาน” ทำหน้าที่เสมือนเป็นบัญชีย่อยแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับต้นทุนของงานที่ทำการผลิต
เมื่อผลิตเสร็จก็จะรวบรวมต้นทุนการผลิตทั้งหมดของแต่ละงาน
จาก
“บัตรต้นทุนงาน” เพื่อบันทึกโอนต้นทุนสินค้าที่ผลิตเสร็จออกจากบัญชีงานระหว่างทำไปบัญชี
สินค้าสำเร็จรูปรอการส่งมอบให้ลูกค้าต่อไป
“บัตรต้นทุนงาน” เป็นเอกสารที่กิจการออกแบบขึ้นเพื่อเก็บรายละเอียดเกี่ยวกับการรับคำสั่งผลิตจากผู้สั่งทำ
เช่น จำนวนสินค้าที่สั่ง วันที่สั่ง วันที่ผลิตเสร็จ
พร้อมทั้งแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้วัตถุดิบทางตรง แรงงานทางตรง
และค่าใช้จ่ายการผลิต รวมถึงรายละเอียดอื่นที่จำเป็น
ตัวอย่างบัตรต้นทุนงาน
การสะสมต้นทุนตามระบบต้นทุนงานสั่งทำ “บัญชีงานระหว่างทำ”
ทำหน้าที่เป็นบัญชีคุม
ยอดส่วน
“บัตรต้นทุนงาน” ทำหน้าที่เป็นบัญชีย่อย
บัตรต้นทุนงาน
(Job
cost sheet)
การบันทึกบัญชีตามระบบต้นทุนงานสั่งทำ
บันทึกในสมุดบันทึกรายการขั้นต้นและผ่านรายการไปขั้นหลายตามส่วนประกอบของต้นทุนการผลิตดังนี้
1.
บันทึกการจัดซื้อ คำนวณและบันทึกการเบิกวัตถุดิบ
2.
คำนวณและบันทึกค่าแรง
3.
คำนวณและบันทึกค่าใช้จ่ายการผลิต
4.
คำนวณและบันทึกต้นทุนสินค้าที่ผลิตเสร็จ
5.
คำนวณและบันทึกต้นทุนสินค้าที่ขาย
เมื่อผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภททั่วไปแล้วเพิ่มการจัดทำ
“บัตรต้นทุนงาน” เพื่อสะสมต้นทุนการผลิตของแต่ละงานแยกจากกัน
โดยทุกครั้งที่บันทึกต้นทุนการผลิตเข้าบัญชีงานระหว่างทำซึ่งถือเป็นบัญชีคุมยอดแล้วก็ผ่านต้นทุนการผลิตของแต่ละงานสะสมเข้าบัตรต้นทุนงานตามรายละเอียดของแต่ละงาน
ตัวอย่างที่
1 บริษัท ริมวัง จำกัดใช้ระบบต้นทุนงานสั่งทำ คิดค่าใช้จ่ายการผลิตเข้างาน
150%ของค่าแรงทางตรง ผลต่างของผลิตคิดเข้างานให้ปิดเข้าบัญชีต้นทุนขาย
ข้อมูลเกี่ยวกับการผลิต
ระหว่างเดือนมีนาคม
มีดังนี้
1.
งานระหว่างทำคงเหลือยกมา 11,500 บาท คือ งานเลขที่ 101 ประกอบด้วย
วัตถุดิบทางตรง
4,000
บาท
ค่าแรงทางตรง
3,000
บาท
ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน
4,500
บาท
2.
ระหว่างเดือนมีนาคม เริ่มงาน 3 งาน คือ งานเลขที่ 102, 103
และ 104
3.
เบิกวัตถุดิบทั้งสิ้น 29,000 บาท
·
งาน 101 จำนวน 3,000 บาท
·
งาน 102 จำนวน 8,000 บาท
·
งาน
103 จำนวน 10,000 บาท
·
งาน 104 จำนวน 5,000 บาท
·
วัตถุดิบทางอ้อม 3,000 บาท
4.
ค่าแรงมีจำนวน 24,000 บาท
·
งาน 101 จำนวน 2,000 บาท
·
งาน 102 จำนวน 5,000 บาท
·
งาน 103 จำนวน 8,000 บาท
·
งาน
104 จำนวน 5,000 บาท
·
แรงงานทางอ้อม 4,000 บาท
5.
จ่ายค่าใช้จ่ายการผลิตอื่นเป็นเงินสด จำนวน 13,000 บาท
และคิดค่าเสื่อมราคาอาคารโรงงานและเครื่องจักร 12,000 บาท
6.
ในวันสิ้นงวดงาน 104 เป็นงานที่อยู่ระหว่างการผลิต
7.
กิจการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าทันทีที่ผลิตเสร็จโดยคิดราคาขาย 200%
จากราคาต้นทุนก่อนปรับปรุงผลต่าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น